[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.บุรีรัมย์ เขต ๒
Paperless Office พ.ศ. 2562  
หน้าแรก   ข่าวสาร   Smart Obec  

เรื่อง : รายงานผลการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น”สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
ผู้เขียน : นายถาวร กุลวงษ์
วันที่ 22 เดือน เมษายน พ.ศ.2562
เข้าชม : 3078
Bookmark and Share


  

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง รายงานผลการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น”สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
ชื่อผู้รายงาน นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์
ผู้อำนวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ปฏิบัติราชการ ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2561
 

การรายงานผลครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลตามสภาพการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 2) ศึกษาความสามารถ ด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 4) ศึกษาปัญหาและ ข้อเสนอแนะในการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 และ 5) ศึกษาผลสำเร็จจากการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 กลุ่มเป้าหมายและผู้ให้ข้อมูลในการรายงาน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 230 โรง และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ศึกษานิเทศก์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 14 คน โรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ซึ่งได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 230 โรงเรียน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 230 คน ครูผู้สอน จำนวน 230 คน และผู้ปกครอง จำนวน 230 คน รวมทั้งสิ้น 704 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จานวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus group) แบบบันทึกผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2561 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 และแบบบันทึกความสำเร็จจาก การบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ปีการศึกษา 2561 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติความถี่ (f) ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x-bar) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนาเสนอแบบ พรรณนาความ

สรุปผล
จากการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 สรุปผลได้ดังนี้
1. สภาพการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 มีการบริหาร 3 ด้าน พบว่า
1.1 ด้านปัจจัย (Input) ได้แก่ บริบทเกี่ยวกับนโยบาย “อ่านออกยกชั้น” วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และความต้องการของโครงการ มุ่งเน้นการส่งเสริมผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครอง มีความตระหนัก นำโยบายไปปฏิบัติ ครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อมุ่งให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องการอ่านออก เขียนได้ และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต้องอ่านคล่อง เขียนคล่อง และทุกระดับชั้นมีพัฒนาการด้านการอ่าน การเขียนที่ดีขึ้นจากการทดสอบครั้งก่อนหน้าร้อยละ 3 ของคะแนนที่ได้ (ยกเว้นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้) เน้นการมีส่วนของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมเปลี่ยนพ่อแม่เป็นครูเปลี่ยนที่อยู่เป็นห้องเรียน ส่วนปัจจัยนำเข้า ได้แก่ บุคคลผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน คณะกรรมการดำเนินงานระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้อานวยการสถานศึกษา ครูโรงเรียนต้นแบบ คณะกรรมการดำเนินงานระดับโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูวิชาการ ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน มีการกำหนดคณะนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการบริหารโครงการ ส่วนงบประมาณมีความเพียงพอ เนื่องจากมีการควบคุมการเบิกจ่ายงบที่ถูกต้องโปร่งใส วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานมีความเหมาะสมตามกิจกรรมที่จัด ซึ่งสามารถเป็นนวัตกรรมที่ดีเลิศ (Best Practice) มีการมอบโคมไฟสำหรับนักเรียนอ่านหนังสือ รูปแบบของกิจกรรมมี 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมสร้างความตระหนักร่วมกัน กิจกรรมให้ความสำคัญแก่ครูและนักเรียน กิจกรรมพากเพียรนำวิธีสอนสู่การปฏิบัติ กิจกรรมเร่งรัด นิเทศติดตามอย่างกัลยาณมิตร กิจกรรมประเมินผลสัมฤทธิ์เพื่อการพัฒนา และกิจกรรมชื่นชมความก้าวหน้าและให้ขวัญกำลังใจ
1.2 ด้านกระบวนการ (Process) ได้แก่ ขั้นการวางแผน (Plan : P) มีการประชุม วางแผน การทำงานก่อนการดำเนินกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ และคณะกรรมการดำเนินงานมีการแบ่งหน้าที่ในการดำเนินงานอย่างชัดเจน ขั้นการปฏิบัติ (Do : D) การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ทั้ง 6 กิจกรรม เน้นการมีส่วนร่วมจากที่เกี่ยวข้อง ขั้นการตรวจสอบข้อมูลหรือประเมินผล (Check : C) มีกำหนดและดำเนินงานตามปฏิบัติการนิเทศภายใน และภายนอกอย่างสม่ำเสมอ มีการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานผลของกิจกรรม และการตรวจสอบรายงานเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ส่วนการนำผลการประเมินไปใช้ (Action : A) มีการประชุมสรุปผลการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 รวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะจากการบริหารโครงการอย่างรอบด้าน เพื่อนำข้อมูลสารสนเทศไปประกอบการวางแผนบริหารโครงการในปีต่อไป ดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการเผยแพร่ผลงานให้ผู้อื่นหรือหน่วยงานอื่นๆ ในเวทีการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 เดือนละ 1 ครั้ง เผยแพร่ผลงานผ่านสื่อหลายด้าน ได้แก่ หนังสือราชการไปยังโรงเรียนในสังกัด จานวน 230 ชุด และจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ และประชาสัมพันธ์ลงในเว็บไซต์ (http://www.br2.go.th)
1.3 ด้านผลผลิต (Output) ได้แก่ ความสามารถด้านการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ ความพึงพอใจต่อการบริหารโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ได้ข้อมูลปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ในปีการศึกษาต่อไป
2. ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนปีการศึกษา 2561 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 มี 4 ประเด็น พบว่า
2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมของเขตพื้นที่การศึกษามีพัฒนาการจากการทดสอบในระบบ e-MES ครั้งที่ 4 เพิ่มขึ้นจากครั้งที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 6.67 ระดับชั้นที่มีพัฒนาการเพิ่มมากที่สุดคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 26.77 และชั้นที่มีพัฒนาน้อยที่สุดคือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 0.43
2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 ของโรงเรียนต้นแบบอ่านออกยกชั้น ปีการศึกษา 2561 มีพัฒนาการจากการทดสอบในระบบ e-MES ครั้งที่ 4 เพิ่มขึ้นจากครั้งที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 4.23 โรงเรียนที่มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ โรงเรียนบ้านปราสาท รองลงมาคือ โรงเรียนบ้านสวายจีกน้อย โรงเรียนบ้านโคกเพชร (บุญเหลือคุรุราษฎร์บำรุง) โรงเรียนบ้านหนองตะเคียน (บ้านกรวด) และ โรงเรียนบ้านไม้แดง ตามลำดับ
2.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561 มีผลการประเมินความสามารถ ในการอ่าน (Reading Test : RT) โดยภาพรวมของเขตพื้นที่การศึกษา สูงกว่าระดับระดับประเทศ คิดเป็นร้อยละ 0.85
2.4 โรงเรียนในสังกัดที่สามารถพัฒนานักเรียนให้ประสบความสำเร็จตามโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ทุกชั้นเรียน 100% มีจานวน 142 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 61.74 โดยเรียงจาก มากไปหาน้อย ได้แก่ อำเภอกระสัง คิดเป็นร้อยละ 68.66 อำเภอประโคนชัย คิดเป็นร้อยละ 64.94 อำเภอห้วยราช คิดเป็นร้อยละ 62.50 อำเภอบ้านกรวด คิดเป็นร้อยละ 59.57 และอำเภอพลับพลาชัย คิดเป็นร้อยละ 34.78
3. ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53, S.D.=0.68) เมื่อแยกตามรายด้าน พบว่า การบริหารด้านปัจจัย (Input) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ประเด็นที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ นโยบายของโครงการเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองลงมาคือ การบริหารจัดการโครงการมีความเหมาะสม และประเด็นที่มีความพึงพอใจ น้อยที่สุดคือ ระยะเวลาที่ใช้ดำเนินโครงการมีความเหมาะสม การบริหารด้านกระบวนการ (Process) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ การจัดกิจกรรม ให้ความสำคัญแก่ครูและนักเรียน รองลงมาคือ การดำเนินงานเป็นระบบและมีขั้นตอนตามหลักการ บริหารวงจรคุณภาพ PDCA ประเด็นที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ การรายงานและประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานต่อสาธารณชนอย่างทั่วถึง และการบริหารด้านผลผลิต (Output) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ โครงการ “อ่านออกยกชั้น” สามารถแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ รองลงมาคือ นักเรียนสามารถอ่านออก เขียนได้ตามวัตถุประสงค์ และประเด็นที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการ ศึกษาเห็นถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียน X
4. ปัญหาที่พบในการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 คิดเป็นร้อยละ 40.56 ได้แก่ ปัญหานักเรียนไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่กระตือรือร้น ไม่ใฝ่เรียนรู้ นักเรียนมีสมาธิในการเรียนรู้น้อย ครูมีภาระหน้าที่อื่นมาก ครูขาดการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง ระยะเวลาในการดาเนินงานน้อยเกินไป ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจนไม่มีเวลาสนใจและใส่ใจนักเรียน ครูขาดการทุ่มเท เสียสละ ขาดแคลนบุคลากร งบประมาณ แหล่งเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรมไม่เพียงพอ และการประชาสัมพันธ์โครงการไม่ทั่วถึง ส่วนข้อเสนอแนะในการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์ เขต 2 คิดเป็นร้อยละ 30.79 ให้มีการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิควิธีต่างๆ ให้ต่อเนื่อง พัฒนา แหล่งเรียนรู้ และสื่อนวัตกรรมเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูนำไปใช้พัฒนาการอ่านออกยกชั้น ควรจัดสรรงบประมาณให้มากกว่านี้ ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปกครองนักเรียน โดยเฉพาะนักเรียนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของแต่ละโรงเรียน นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ เยี่ยมบ้าน พบปะ พูดคุยกับผู้ปกครองนักเรียน ควรระดมงบประมาณสนับสนุนโครงการมากกว่านี้ และควรประชาสัมพันธ์โครงการมากขึ้น ตามลำดับ
5. ผลสำเร็จจากการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ที่ส่งผลต่อบุคคลและหน่วยงานต่างๆ พบว่า
5.1 ผลที่เกิดกับนักเรียน พบว่า
5.1.1 ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (Reading Test : RT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 69.54 สูงกว่าระดับประเทศ (ค่าเฉลี่ย 68.69) อยู่ร้อยละ 0.85 ผลการระดับชาติ O-NET ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 41.66 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2560 (ร้อยละ 37.26) อยู่ร้อยละ 4.39 การทดสอบระดับชาติ O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 34.73 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2560 (ร้อยละ 33.01) อยู่ร้อยละ 3.69
5.1.2 นักเรียนที่มีผลการทดสอบเต็ม 100 คะแนน ในการทดสอบระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 13 คน นักเรียนผ่านการทดสอบคัดเลือกเข้าโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประจาปีการศึกษา 2561 (สอบคัดเลือกรอบที่ 1) วิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 1 คน และวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 คน
5.1.3 รางวัลผลการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 68 ปีการศึกษา 2561 ได้แก่ 141 เหรียญทอง 53 เหรียญเงิน 29 เหรียญทองแดง รวมทั้งสิ้น 223 เหรียญ ได้อันดับที่ 23 ของภาค
5.2 ผลที่เกิดขึ้นต่อสถานศึกษา
5.2.1 โรงเรียนได้รับรางวัลการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับภาค ครั้งที่ 68 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 223 โรงเรียน
5.2.2 โรงเรียนได้รับรางวัลครูดีไม่มีอบายมุข ปีการศึกษา 2561 จำนวน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านโคกกี่ โรงเรียนบ้านโชคกราด โรงเรียนบ้านโนนสว่าง โรงเรียนบ้านสี่เหลี่ยม และโรงเรียนบ้านหนองม่วงพัฒนา
5.2.3 ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับรางวัล จำนวน 2 ราย ได้แก่ นายนิคม ขันโสม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านจรเข้มาก ประเภทวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ประจำปี 2561 และนายทรงชัย สุขแสนสุข ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านระกาเสม็ด ได้รับรางวัลเหรียญเงิน ประเภทผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยมระดับประถมศึกษาขนาดเล็ก ด้านบริหารจัดการ ปีการศึกษา 2561
5.2.4 ครูได้รับรางวัล ได้แก่ นางกัญญาณัฐ ยืนประโคน ได้รับรางวัลรางวัลเชิดชูเกียรติ “ครูดีในดวงใจ” ประจำปี 2561 นางสุดฤทัย เมอะประโคน ตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านระกาเสม็ด ได้รับรางวัลเหรียญเงิน รองชนะเลิศอันดับหนึ่งเหรียญทอง (ตัวแทนภาค) และข้าราชการครูได้รับรางวัล“ครูดีไม่มีอบายมุข” ปีการศึกษา 2561 จานวน 67 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 69 ราย
5.3 ผลที่เกิดขึ้นต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
5.2.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 มีผลการประเมินมาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 70 ผลการประเมินมาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษา ตามกลยุทธ์และจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.3
5.2.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับรางวัลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) ปีการศึกษา 2561 ระดับสูงมาก จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.4 ผลที่เกิดขึ้นต่อชุมชนและหน่วยงาน ได้แก่ ชุมชนโรงเรียนวัดบ้านเมืองโพธิ์ เป็นศูนย์การเรียนรู้สถานศึกษาพอเพียง และชุมชนโรงเรียนบ้านโคกสูง ผ่านการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
5.5 ผลการถอดบทเรียนจากการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 พบว่า
5.5.1 โรงเรียนบ้านหนองตะเคียน มีหลักการบริหารจัดการในการมอบอุปกรณ์ในการส่งเสริมการอ่านที่บ้านให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง โดยใช้หลักการ “เราจะไม่ทิ้งเด็กคนใดคนหนึ่ง No child left behind” ด้วยหลัก 5 ส. (สร้าง-สอน-ส่ง-เสริม-สอบ) ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและนอกเวลาเรียนวันละ 2 ชั่วโมง ให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 11 คน ร่วมกับนักเรียนปกติ โดยใช้วิธีสอนแบบบันไดทักษะ 4 ขั้นของ ผศ.ศิวกานต์ ปทุมสูตร การวัดและประเมินผล ทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ภาพความสำเร็จคือ โรงเรียนจึงได้รับการประกาศเป็นโรงเรียนอ่านออกยกชั้น ในปีการศึกษา 2561 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ปัญหาและอุปสรรค งบประมาณในการจัดทำสื่อส่งเสริมการอ่านมีอย่างจำกัด ความต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม จัดหางบประมาณในการจัดทาสื่อ/แบบฝึกให้เพียงพอ และจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สาหรับผู้ปกครองนักเรียนที่ร่วมโครงการ
5.5.2 โรงเรียนบ้านปราสาท มีการบริหารจัดการอ่านออกยกชั้น โดยใช้วิธีการแจ้งนโยบายการประชุม และดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม โดยใช้ 4 ช.โมเดล การจัดการเรียนรู้ มีการ คัดกรอง ทดสอบการอ่านการเขียน พัฒนาโดยฝึกการอ่านทุกวันในช่วงพักโดยใช้หนังสือเรียน บัญชีคำพื้นฐาน นิทาน อ่านคำจากภาพ เขียนสะกดคำทุกวันวันละ 10 คำ การฝึกคัดลายมือ นำคำมาแต่งประโยค และการแต่งประโยคจากภาพ เขียนคำตามภาพและการฝึกเขียนเรียนตามจินตนาการ การวัดและประเมินผลโดยทดสอบการอ่าน การเขียนและนำผลมาปรับปรุง ภาพความสำเร็จคือ นักเรียนโรงเรียนบ้านปราสาทอ่านออกยกชั้น 100% ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนน RT ป.1 81.55% O-NET 48.37% สูงกว่าระดับประเทศ ทั้ง 4 สาระ นักเรียนโรงเรียนบ้านปราสาทรักการอ่านทุกคน และผู้ปกครอง/ชุมชนพึงพอใจในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียน ปัญหา/อุปสรรค บุคลากรมีไม่ครบชั้น งบประมาณไม่เพียงพอ สื่อ/เทคโนโลยีไม่เพียงพอ ความต้องการการช่วยเหลือเพิ่มเติม ได้แก่ งบประมาณ บุคลากร สื่อ/เทคโนโลยีที่ส่งเสริมการอ่านการเขียนนักเรียน
5.5.3 โรงเรียนบ้านโคกเพชร (บุญเหลือคุรุราษฎร์บำรุง) กระบวนการบริหารจัดการอาศัยหลักการบริหารจัดการแบบ “การมีส่วนร่วม” โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) และทฤษฎีระบบหรือวงจรเดมมิ่ง PDCA ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การจัดการเรียนรู้และมาตรการในการพัฒนาผู้เรียนอ่านออกยกชั้น 3 ระยะ คือ “ผูกพันและศรัทธา พัฒนาใส่ใจ และให้ที่ไม่สิ้นสุด” การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อาศัยกระบวนการวัดและประเมินผลแบบ 360 องศา ผลสำเร็จที่ได้รับคือ นักเรียนอ่านออกยกชั้นครบทุกชั้นเรียน ปัญหาและอุปสรรคคือ การสร้างความตระหนักรู้และการใส่ใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการกำหนดเป้าหมายที่ดีร่วมกัน คือ “คุณภาพของผู้เรียน” สิ่งที่ต้องการรับความช่วยเหลือเพิ่มเติม ได้แก่ งบประมาณวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดี การช่วยกระตุ้นหรือเสริมแรงการสร้างความตระหนักรู้ ในการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีของครูและบุคลากร ให้ขวัญและกำลังใจเพื่อให้เกิด “พลัง” ภายในที่ดีมีคุณค่า ดังคำว่า “ถ้านักเรียน ก็คือ “เพชร” ที่ผ่านการเจียรนัยโดยช่างมืออาชีพ (ครู) เพชรเม็ดนี้ย่อมเป็นเพชรเม็ดงามและมีคุณค่าเสมอ”
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการรายงานไปใช้
1.1 การดำเนินงานในโครงการหรือกิจกรรมใดๆ ก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารจัดการให้ดี ซึ่งระบบบริหารด้านปัจจัย กระบวนการ และผลผลิตมีความจำเป็นสาหรับนักบริหารมืออาชีพ รวมทั้งการดำเนินงานตามวงจรควบคุมคุณภาพ PDCA เป็นระบบที่ดีเหมาะสมกับการนำไปใช้ และการบริหารจัดการที่มุ่งสู่ความสำเร็จของแต่ละสถานที่จะมีความแตกต่างกันไปตามบริบทและสภาพของพื้นที่ที่จะบริหารจัดการ
1.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบริหารโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนที่ที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
1.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลทุกขั้นตอนควรใช้ความระมัดระวังไม่ให้เกิดความเบี่ยงเบนหรือความไม่เที่ยงตรง เพราะจะทำให้การสรุปรายงานผลไม่ตรงตามสภาพความเป็นจริง
2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2.1 ควรมีการประเมินโครงการที่เน้นประสิทธิผลของโครงการด้านผลผลิตและผลกระทบของโครงการด้วย เพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาการจัดการศึกษาและการพัฒนาการบริหารโครงการต่อไป
2.2 ควรส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนที่มีความพิการประเภทต่างๆ เป็นการเฉพาะขั้น เช่น นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา นักเรียนสมาธิสั้น และนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรือทางอารมณ์ เป็นต้น
2.3 ควรดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาแผนการบริหารจัดการการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนรวม สาหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียนกับนักเรียนปกติ
2.4 ควรส่งเสริมให้เกิดการผนึกกำลังของสังคมและชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนตื่นตัวที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบุตรหลานของตนเอง และสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับชุมชนของตน มากขึ้น ซึ่งเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาสังคมระยะยาว
 
 
นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ได้มีนโยบาย "อ่านออกยกชั้น" ให้โรงเรียนในสังกัดดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาการอ่านการเขียนของนักเรียน ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง สามารถสรุปจากรายงานได้ดังนี้


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เชิญร่วมทำบุญสมทบทุนสร้างห้องน้ำอนุบาลโรงเรียนบ้านไพศาลสามัคคี 16 ส.ค. 2562
     รายงานผลการบริหารโครงการ “อ่านออกยกชั้น”สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 22 เม.ย. 2562
     ประกาศโรงเรียนบ้านบุญช่วย เรื่อง ประกาศผลผู้ผ่านการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่ง นักการภารโรง 18 มี.ค. 2562
     ประกาศโรงเรียนบ้านบุญช่วย เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ในตำแหน่ง นักการภารโรง 12 มี.ค. 2562
     ประกาศโรงเรียนบ้านบุญช่วย เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่นักการภารโรง 4 มี.ค. 2562


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๒
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.